แพ้ไม่ได้ชนะก็ไม่ได้! ชัยชนะของยูเครนอาจบีบให้ปูตินใช้ “อาวุธนิวเคลียร์”

ผู้เชี่ยวชาญประเมิน การที่ยูเครนมีชัยเหนือรัสเซียในการทวงคืนพื้นที่ อาจเป็นการบีบให้ปูตินใช้อาวุธนิวเคลียร์

ความคืบหน้าล่าสุดในสงครามรัสเซีย-ยูเครนทำให้บรรดาชาติตะวันตกตื่นเต้น เมื่อยูเครนใช้แผนลวงหลอกล่อรัสเซียจนสามารถยึดพื้นที่บริเวณภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือคืนมาได้สำเร็จหลายพันตารางกิโลเมตร และผลักดันกองกำลังรัสเซียให้ถอยไปจากชายแดนได้

แต่ท่ามกลางความชื่นชมยินดีนี้ ผู้เชี่ยวชาญหลายคนออกมาพยากรณ์ว่า นี่จะนำไปสู่การตัดสินใจใช้ “อาวุธนิวเคลียร์” ของประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดิเมียร์ ปูติน หรือไม่?

ประเมินว่า ความคืบหน้าที่ดูจะมีเพียงน้อยนิดประกอบกับความพ่ายแพ้ที่รัสเซียไม่ยอมรับนี้ เป็นเหมือนกับการตบหน้าปูตินเข้าฉาดใหญ่ ไม่เพียงเท่านั้น การพลาดท่าเสียทีของกองทัพรัสเซียทำให้ขณะนี้ปูตินถูกกดดันอย่างหนัก ทั้งจากผู้สนับสนุนซึ่งเรียกร้องให้มีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ และจากผู้ต่อต้านที่ต้องการให้ยุติการสู้รบ หรือถึงขั้นเรียกร้องให้ปูตินลาออก..

เมื่อเจอกับแรงกดดันทั้งภายในและภายนอก ก็ไม่แปลกใจที่จะเกิดความกังวลว่า หากปูตินต้องการสร้างผลงานใน “ปฏิบัติการพิเศษทางทหารในยูเครน” ให้เป็นที่ประจักษ์ การใช้อาวุธนิวเคลียร์ก็เป็นหนึ่งในแนวทางที่เป็นไปได้อย่างยิ่ง

โรส ก็อตต์โมลเลอร์ อดีตรองเลขาธิการนาโต (NATO) ออกมาเตือนว่า ปูตินอาจตัดสินใจใช้อาวุธนิวเคลียร์ หลังจากที่กองทัพของเขาประสบความพ่ายแพ้ในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือของยูเครน ซึ่งเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ มองว่า ชัยชนะนี้อาจเป็นจุดเปลี่ยนของสงคราม..

“ฉันกลัวว่าพวกเขาจะโจมตีกลับตอนนี้ด้วยวิธีที่คาดเดาไม่ได้จริงๆ และอาจเกี่ยวข้องกับอาวุธที่มีอำนาจทำลายล้างสูง” ก็อตต์โมลเลอร์บอก

เธออธิบายว่า รัสเซียสามารถสั่งการโจมตีสาธิตนิวเคลียร์ ไม่ว่าจะเป็นการโจมตีครั้งเดียวเหนือทะเลดำหรือบางทีอาจจะโจมตีโครงสร้างทางทหารของยูเครน “เพื่อสร้างความหวาดกลัวให้กับยูเครนและพันธมิตร”

ไม่เพียงแต่การใช้อาวุธนิวเคลียร์โดยตรงเท่านั้น ต้องไม่ลืมว่า สถานการณ์ที่โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ซาโปริซเซีย (Zaporizhzhia) ของยูเครน ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป ยังคงอยู่ในความดูแลของรัสเซียเป็นหลัก

แม้จะมีเจ้าหน้าที่จากสำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) หน่วยงานเฝ้าระวังนิวเคลียร์ของสหประชาชาติ เข้าไปประจำการดูแลความเรียบร้อยภายในโรงไฟฟ้า ก็ไม่มีอะไรจะรับประกันได้ว่า จะไม่เกิด “อุบัติเหตุนิวเคลียร์” ขึ้นมา..

ข้อมูลจากสหรัฐฯ จะระบุว่า ไม่มีสัญญาณว่ารัสเซียกำลังพยายามทำอะไรกับอาวุธนิวเคลียร์ ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนย้ายหรือเตรียมการใด ๆ แต่ผู้เชี่ยวชาญและบรรดาชาติตะวันตกก็ยังคงกังวลว่า ปูตินจะมีปฏิกิริยาอย่างไรหากเขาถูกต้อนให้จนมุม หรือดูเหมือนว่าเขากำลังจะแพ้สงครามในยูเครน

ทั้งนี้ ในกรณีที่ดีที่สุด นักยุทธศาสตร์มองว่า รัสเซียอาจเลือกใช้กลยุทธ์สู้รบยืดเยื้อ เพื่อซื้อเวลาในการจัดหากำลังพล ทรัพยากร และรวมพลใหม่ แต่กลยุทธ์นี้ก็เสี่ยงที่จะเป็นฝ่ายป้องกันมากจนเกินไปจนอาจพลาดท่าให้กับยูเครนอีก

แต่อย่างไรก็ดี เป็นการยากสำหรับชาติตะวันตกที่จะคำนวณว่า “เส้น” ของปูตินอยู่ที่ใด การกระทำใดบ้างที่ปูตินจะถือว่าเป็นการล้ำเส้น และพร้อมตอบโต้ด้วยวิธีรุนแรงสุดขั้ว

จนถึงตอนนี้ ยูเครนและพันธมิตรยังไม่ได้ล้ำเส้นปูตินในระดับที่ยอมรับไม่ได้ แต่ไม่มีใครรู้ว่า ในอนาคตจะมีการล้ำเส้นหรือไม่ และปูตินก็ประสบความสำเร็จในการทำตัวลึกลับ ซึ่งทำให้ไม่สามารถตัดสินได้อย่างแม่นยำว่าเขาสามารถ “ไปได้สุด” แค่ไหน

ก็ได้แต่ภาวนาว่า สิ่งที่บรรดาผู้เชี่ยวชาญคาดการณืกันมานี้ จะเป็นเพียงการมองโลกในแง่ร้าย เพราะอีกหนึ่งความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นหากรัสเซียใช้อาวุธนิวเคลียร์ ก็คือ “สงครามโลกครั้งที่ 3” ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ว่าใครก็ไม่ต้องการให้เกิดขึ้น

ลิซ ทรัสส์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษคนใหม่ กร้าว!พร้อมจะยิงนิวเคลียร์เสมอถ้าโดนคุกคาม 

ลิซ ทรัสส์ กล่าวขอบคุณ และบอกว่ารู้สึกเป็นเกียรติที่ได้รับเลือกเป็นผู้นำ และขอบคุณพรรคที่ดำเนินการสัมภาษณ์งานที่ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ของเธอ รวมถึงบรรดาผู้สนับสนุนเธอด้วย..

ขณะที่ก่อนหน้านี้ในระหว่างศึกดีเบต “ลิซ ทรัสส์” ได้บอกว่าพร้อมยิงอาวุธนิวเคลียร์ไทรเดนต์ (Trident) หรือ ขีปนาวุธข้ามทวีปติดหัวรบนิวเคลียร์ ใช้ยิงจากเรือดำน้ำของอังกฤษเพื่อทำลายล้างถ้ามีความจำเป็น โดยเชื่อว่าการตัดสินใจดังกล่าวเป็นหน้าที่อันสำคัญของคนเป็นนายกรัฐมนตรี แต่เธอไม่ได้ระบุว่าจะใช้กับประเทศใด แต่ได้เตือนว่า “ยุคแห่งความใจเย็นจบลงแล้ว”

อย่างไรก็ตาม ปัญหาเศรษฐกิจคือเรื่องหลักที่ผู้นำใหม่ต้องเร่งจัดการ หลังอังกฤษตต้องเผชิญเงินเฟ้อรุนแรงที่สุดในรอบ 40 ปี ที่ 10.1% ในเดือนกรกฎาคม และโกลด์แมน แซคส์ประเมินว่า อาจแตะ 20% หากราคาก๊าซยังไม่ลดลง.

กองทัพเรือสหรัฐฯ ใช้เรือรบไร้คนขับเพื่อเสริมทัพในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิค

กองทัพสหรัฐฯ ให้น้ำหนักกับบทบาทด้านการทหารของจีนในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกอย่างต่อเนื่อง..

ล่าสุด กองทัพเรือสหรัฐฯ หันมาพึ่งพาเรือรบไร้คนขับเพื่อเสริมทัพในภูมิภาคนี้แล้วโดยเชื่อว่าจะตอบโจทย์ยุทธศาสตร์และความมั่นคงในภูมิภาคมากขึ้น.

ข่าวเดิม

กองทัพสหรัฐฯ กำลังทดสอบนวัตกรรมทางทะเลชิ้นล่าสุด นั่นคือ เรือขนาด 40 เมตรที่ขับเคลื่อนด้วยตนเองและสามารถอยู่ในทะเลได้หลายวันหรือหลายเดือน และเดินทางได้หลายพันกิโลเมตรโดยปราศจากกัปตันหรือลูกเรือ

สำนักงานโครงการวิจัยขั้นสูงของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ดูแลการพัฒนาเรือรบผิวน้ำไร้คนขับที่รู้จักกันในชื่อ ซีฮันเตอร์ หรือชื่อเป็นทางการว่า เรือรบไร้คนขับสำหรับการตรวจจับและติดตามเรือดำน้ำอย่างต่อเนื่อง สำนักงานได้พัฒนาเรือรบดังกล่าวเพื่อติดตามเรือดำน้ำของข้าศึก แต่เทคโนโลยีที่มีอาจนำไปประยุกต์ใช้งานด้านการทหารอื่น ๆ และในเชิงพาณิชย์ เช่น การตรวจหาเหมืองแร่และนำทางเรือขนส่งสินค้าไร้คนขับไปยังท่าเรือ เจ้าหน้าที่ทหารกล่าว..

“นี่เป็นครั้งแรกที่เรามีเรือที่ควบคุมโดยหุ่นยนต์ทั้งหมดซึ่งมีขีดความสามารถในการข้ามมหาสมุทร” นายโรเบิร์ต เวิร์ก รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ กล่าวให้สัมภาษณ์กับรอยเตอร์เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2559 สำนักงานโครงการวิจัยขั้นสูงของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ซึ่งเริ่มต้นขั้นตอนการทดสอบระยะเวลาสองปีเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2559 จะทำงานร่วมกับกองทัพเรือสหรัฐฯ เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของเรือในการดำเนินกลยุทธ์นอกชายฝั่งแคลิฟอร์เนีย

“มีข้อดีมากมายที่เรายังคงพยายามที่จะเรียนรู้” นายสกอตต์ ลิตเติลฟิลด์ ผู้จัดการโครงการของสำนักงานโครงการวิจัยขั้นสูงของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ กล่าวกับดิแอสโซซิเอทเต็ด เพรส เรือรบต้นแบบสามารถแล่นด้วยความเร็วราว 48 กิโลเมตรต่อชั่วโมงหรือ 26 นอต และอาศัยระบบการมองเห็นขั้นสูงและเซนเซอร์จำนวนมากเพื่อหลีกเลี่ยงการชนกับเรือลำอื่น ๆ สื่อต่าง ๆ ระบุ

เป้าหมายของสำนักงานโครงการวิจัยขั้นสูงของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ คือ การออกแบบเรือรบที่ “มีประสิทธิภาพแพลตฟอร์มที่ล้ำสมัยเพื่อมอบพลังขับเคลื่อนที่เหนือกว่าเรือดำน้ำไฟฟ้าพลังงานดีเซล โดยมีขนาดและต้นทุนเพียงแค่เศษเสี้ยวเท่านั้น” จากการรายงานผ่านเว็บไซต์ของสำนักงาน

“สำหรับการปฏิบัติการทางทหารของเรา เราต้องการให้มั่นใจว่าเรามีเรือรบไร้คนขับเช่นนี้เพื่อเสริมภารกิจของมนุษย์เพื่อที่เราจะไม่เอาชีวิตของเจ้าหน้าที่ไปเสี่ยงโดยไม่จำเป็น” นายจาเร็ด อดัมส์ โฆษกสำนักงานโครงการวิจัยขั้นสูงของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ กล่าวกับเว็บไซต์ สตาร์ส แอนด์ สไตรป์ส

“เราไม่ได้กำลังทำงานเกี่ยวกับเทคโนโลยีปราบเรือดำน้ำเพียงเพราะเราคิดว่าเป็นสิ่งยอดเยี่ยม แต่เรากำลังทำในเรื่องนี้เพราะว่าเรากังวลอย่างมากเกี่ยวกับความก้าวหน้าที่จีนและรัสเซียกำลังทำในเรื่องนี้” นายปีเตอร์ ซิงเกอร์ นักเขียน นักยุทธศาสตร์และนักวิจัยอาวุโสที่มูลนิธินิวอเมริกาซึ่งเป็นคณะวิจัยที่มีฐานในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. กล่าวกับรอยเตอร์

เรือดังกล่าวมีต้นทุนในการพัฒนาอยู่ที่ 120 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 4.2 พันล้านบาท) แต่ในขณะนี้สามารถผลิตเรือรบได้ที่ต้นทุนลำละ 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 700 ล้านบาท) ประมาณการค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานอยู่ระหว่าง 15,000 ถึง 20,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 5.25 ถึง 7 แสนบาท) ต่อวัน

“ตอนนี้เรามีสินทรัพย์ที่เป็นเพียงเศษเสี้ยวของต้นทุนของเรือที่ใช้คนขับ” พล.ร.ต. โรเบิร์ต กิเรีย ผู้อำนวยการระบบการสงครามแบบไร้คนขับแห่งกองทัพเรือสหรัฐฯ กล่าวกับรอยเตอร์

ขณะนี้กองทัพกำลังสำรวจวิธีการต่าง ๆ ที่จะสนับสนุนความมั่นคงด้านไซเบอร์ของเรือหุ่นยนต์ดังกล่าวเพื่อปกป้องเรือจากแฮกเกอร์ นายลิตเติลฟิลด์กล่าวกับดิแอสโซซิเอทเต็ด เพรส

นอกจากนั้น สำนักงานโครงการวิจัยขั้นสูงของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ กำลังพัฒนาระบบไร้คนขับอื่น ๆ เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของกองทัพเรือสหรัฐฯ อันประกอบด้วยระบบทางอากาศไร้คนขับเพื่อปล่อยขึ้นจากเรือที่มีดาดฟ้าขนาดเล็กเพื่อหาข่าวกรอง ตรวจการณ์ และลาดตระเวนระยะไกล จากการรายงานผ่านเว็บไซต์ของสำนักงานโครงการวิจัยขั้นสูงของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ.

cr:https://ipdefenseforum.com/th/2016/05/%E0%B8%AA%E0%B8%A..
https://www.google.com/..QAw&biw=1366&bih=682&dpr=1#imgrc..

สภาคองเกรสอเมริกา เตรียมอนุมัติขายอาวุธให้ไต้หวัน มูลค่า 1.1 พันล้านดอลลาร์

ดีลแรกยุค “ไบเดน” รัฐบาลอเมริกา เตรียมชงเข้าสภาคองเกรส อนุมัติขายอาวุธยุทโธปกรณ์ให้ไต้หวัน มูลค่า 1.1 พันล้านดอลลาร์ เพื่อป้องกันภัยรุกรานจาก “จีน”

“ทริปปิดการขาย” ของ “แนนซี เพโลซี” ด้าน “เพนตากอน” กุมขมับ “วอชิงตัน” ส่งอาวุธป้อน”ยูเครน”มาก จนคลังแสงเริ่มวิกฤติ.

F-35 ดีแค่ไหน?ทำไมใครๆก็อยากได้?

https://www.youtube.com/watch?v=Qt-QYXhtre8 △F-35B Lightning เป็นเครื่องที่มีรูปแบบ พร้อมด้วยพัดลมยกแนวดิ่ง หรือแนวตั้งและหัวฉีดเครื่องยนต์ช่วยให้สามารถยกตัวขึ้นลงแนวดิ่ง และความสามารถใช้บินระยะสั้นในการเดินทางไปยัง ที่หมายแบบ เร่งด่วน F-35 จะแทนที่ AV-8B Harrier II ในกองร้อยนาวิกโยธิน

เครื่องบินรบเอฟ-35 (F-35) ของบริษัท ล็อกฮีด มาร์ติน ของสหรัฐฯ เป็นเครื่องบินรบรุ่นที่ 5 (Fifth Generation) เป็นเครื่องบินรบที่กองทัพอากาศไทยอยากได้มากที่สุดในตอนนี้..

เครื่องบิน “ล่องหน” รุ่นนี้ เริ่มประจำการบินมาตั้งแต่ปี 2549 จนถึงปัจจุบัน สหรัฐฯ ส่งมอบไปแล้วราว 750 ลำ แต่ประสบเหตุตกไปแล้วอย่างน้อย 6 ลำ

หลังการประลองกำลังระหว่างฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาลว่ากองทัพอากาศไทยควรซื้อเครื่องบินรบในขณะที่ประเทศเผชิญภาวะเศรษฐกิจฝืดเคืองหรือไม่ ในที่สุด คณะกรรมาธิการ (กมธ.) พิจารณาร่าง พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายปรจำปี 2566 ชุดใหญ่อนุมัติให้จัดซื้อเครื่องบินโจมตีเอฟ-35 เอ จำนวน 2 ลำ ตามที่กองทัพอากาศอุทธรณ์มาของบประมาณ 369.1 ล้านบาท จาก 738.2 ล้านบาท หลังจากมีการเข้าชี้แจงงบประมาณเมื่อวันที่ 18 ก.ค. ที่ผ่านมา

เครื่องบินขับไล่เอฟ-35 เป็นหนึ่งในเครื่องบินรบที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดในโลก และนับจนถึงปัจจุบัน สหรัฐฯ ตัดสินใจขายเอฟ-35 ให้กับกองทัพของประเทศที่เป็นพันธมิตรใกล้ชิดเท่านั้น

ในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก มีเพียงออสเตรเลีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และสิงคโปร์ ที่ได้ครอบครองเอฟ-35

แต่การจะได้มาซึ่งเครื่องบินที่ขุมกำลังล้ำสมัยรุ่นนี้ รัฐสภาสหรัฐฯ ต้องอนุมัติให้ทางการไทยซื้อเสียก่อน ซึ่ง พล.อ.อ.นภาเดช  ธูปะเตมีย์  ผบ.ทอ. ระบุว่า หากในที่สุด แล้วรัฐสภาของสหรัฐฯ ไม่ขายเครื่องบินขับไล่รุ่นเอฟ-35 ให้ไทย กองทัพอากาศพร้อมจะคืนงบประมาณ

“พูดง่าย ๆ เราไม่สามารถเดินตัวเปล่าเข้าไปซื้อได้ และกองทัพอากาศเคยจัดซื้อในรูปแบบดังกล่าวมาแล้ว คือเครื่องบินเอฟ-16 ซึ่งอยู่ยงคงกระพันใช้งานมาเกือบ 40 ปี และเป็นเครื่องบินรบหลักของกองทัพอากาศ ดังนั้น หากเครื่องบินเอฟ-35 เอ ผ่านการอนุมัติ เราใช้งานไปอีก 35-40 ปีเช่นเดียวกัน”

ทำความรู้จักเอฟ-35

เครื่องบินขับไล่เอฟ-35 เป็นเครื่องบินรบที่ผลิตโดยบริษัท ล็อกฮีด มาร์ติน บริษัทด้านอากาศยาน เทคโนโลยีอวกาศ และยุทโธปกรณ์ป้องกันประเทศระดับโลกสัญชาติอเมริกัน เริ่มขึ้นบินครั้งแรกในปี 2549 ปัจจุบันมี 3 รุ่น ได้แก่ เอฟ-35 เอ, เอฟ-35 บี และ เอฟ-35 ซี

เอฟ-35 เอ – ออกแบบเพื่อใช้งานบินขึ้นลงปกติบนรันเวย์สนามบิน

เอฟ-35 บี – ออกแบบเพื่อใช้งานบินขึ้นและลงจอดในแนวดิ่งบนเรือบรรทุกเครื่องบิน หรือภารกิจอื่น ๆ ที่ไม่มีรันเวย์สำหรับเครื่องบิน

เอฟ-35 ซี – ออกแบบเพื่อใช้งานบนเรือบรรทุกเครื่องบินโดยเฉพาะ มีปีกใหญ่กว่ารุ่นอื่น ๆ

เครื่องบินรบเอฟ-35 ได้ชื่อว่าเป็นเครื่องบินล่องหน เนื่องจากคุณสมบัติสามารถหลบเลี่ยงการตรวจจับของเรดาร์ จึงสามารถเจาะลึกเข้าไปในน่านฟ้าของศัตรูโดยไม่ปรากฏบนจอเรดาร์ โดยเครื่องบินเอฟ-35 เอ รุ่นที่กองทัพอากาศไทยต้องการ มีคุณลักษณะเด่น ตามข้อมูลของกองทัพอากาศสหรัฐฯ ดังนี้

แรงขับเคลื่อนขั้นสูง – 43,000 ปอนด์ ทำความเร็วได้สูงสุด 1.6 มัค หรือ 1,931 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มีเพดานบินได้สูงสุด 50,000 ฟุต

ระบบเซนเซอร์ขั้นสูง – รวบรวมและแสดงข้อมูลได้มากกว่าเครื่องบินรบลำใด ๆ ในประวัติศาสตร์ ทำให้นักบินได้เปรียบเชิงข้อมูล เพื่อตัดสินใจเชิงยุทธศาสตร์ได้อย่างแม่นยำ โดยเฉพาะในปฏิบัติการสู้รบ โดยแสดงผลผ่านหน้าต่างช่องมองของหมวกนิรภัย

ระบบศูนย์เล็งยิงติดหมวก – ระบุเป้าหมายและยิงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ความสามารถในการล่องหน – หลีกเลี่ยงการตรวจจับด้วยเรดาห์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

จากข้อมูลของเว็บไซต์  TAF หรือ Thaiarmedforce.com ซึ่งเป็นข้อมูลล่าสุดของโครงการ F-35 ทั่วโลกในเดือน ม.ค.2565 ระบุว่าจนถึงปัจจุบัน ล็อกฮีด มาร์ติน ได้ส่งมอบเอฟ-35 ทั้งสามรุ่นไปแล้วมากกว่า 750 ลำ

ประเทศที่นำเอฟ-35 ไปใช้ปฏิบัติภารกิจอยู่ มี 9 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐฯ  อังกฤษ อิตาลี ออสเตรเลีย นอร์เวย์ เนเธอร์แลนด์ อิสราเอล ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้

แต่เครื่องบินรบรุ่นที่ถือว่าดีที่สุดในโลกตอนนี้ ก็มีรายงานข่าวประสบอุบัติเหตุมากเช่นกัน นับแต่เริ่มประจำการบินในปี 2549

อุบัติเหตุเครื่องบินเอฟ-35 ตก

ก.ย. 2561 – เครื่องบินรบ เอฟ-35 บี ประสบเหตุตกใกล้ฐานทัพเรือในรัฐเซาท์ แคโรไลนา แต่นักบินดีดตัวออกมาได้อย่างปลอดภัย จากการตรวจสอบพบว่า เป็นผลจากข้อบกพร่องในถังเชื้อเพลิง โดยถือเป็นการตกครั้งแรกของเครื่องรุ่น F-35

เม.ย. 2562 – เครื่องบินเอฟ-35 ของกองทัพญี่ปุ่น ประสบเหตุตกในมหาสมุทรแปซิฟิก ด้วยความเร็ว 1,100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทำให้นักบินเสียชีวิต ถือเป็นการตกครั้งที่ 2 ของเครื่องบินรุ่นนี้

พ.ค. 2563 – เครื่องบินเอฟ-35 เอ ของกองทัพอากาศสหรัฐฯ ประสบเหตุตกที่ฐานทัพในรัฐฟลอริดา แต่นักบินดีดตัวออกมาได้อย่างปลอดภัย

ก.ย. 2563 – เครื่องบินเอฟ-35 เอ ของกองทัพอากาศสหรัฐฯ ประสบเหตุตกระหว่างลงจอด นักบินดีดตัวออกมาได้อย่างปลอดภัย จากการตรวจสอบพบว่ามาจากสภาพร่างกายของนักบิน และข้อบกพร่องบางจุดในตัวเครื่องบิน

พ.ย. 2564 – เครื่องบินเอฟ-35 ของกองทัพอากาศสหราชอาณาจักร ประสบเหตุตกทะเล หลังปฏิบัติภารกิจจากเรือบรรทุกเครื่องบินเอชเอ็มเอส ควีน เอลิซาเบธ

ม.ค. 2565 – เครื่องบินรบเอฟ-35 เอ ของกองทัพอากาศเกาหลีใต้ ประสบเหตุต้องลงจอดฉุกเฉิน แต่อุปกรณ์ลงจอดไม่ทำงาน และต้องลงจอดแบบท้องเครื่องบินไถลไปกับพื้น จากการตรวจสอบพบว่า เกิดจากนกบินเข้าไปในเครื่องยนต์ แต่ไม่ได้ระบุถึงสาเหตุที่อุปกรณ์ล้อลงจอดไม่กาง

ม.ค. 2065 – เครื่องบินเอฟ-35 ซี ของกองทัพเรือสหรัฐฯ ประสบเหตุตกลงทะเลจีนใต้ หลังอุบัติเหตุการลงจอดบนเรือบรรทุกเครื่องบินยูเอสเอส คาร์ล วินสัน โดยใช้เวลานานราว 3 เดือน กว่าจะเก็บกู้เครื่องบินขึ้นมาจากทะเลได้

ที่มา : บีบีซีไทยตรวจสอบรายงานข่าว เทียบเคียงจากสำนักข่าว Reuters AFP และ CNN

ความฝันของทัพฟ้าไทย

โครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่รุ่น F-35 เป็นเรื่องที่ พล.อ.อ. นภาเดช ธูปะเตมีย์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ (ทอ.) ของไทย พูดในหลายครั้งหลายหน

เมื่อ 31 ธ.ค. ปีที่แล้ว พล.อ.อ. นภาเดช ให้ข่าวว่าไทยควรรีบซื้อในขณะนี้ ในช่วงที่ราคาเครื่องบินลดลงจากเดิมที่ 142 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อลำ ลงมาเหลือ 82 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อลำ ซึ่งเป็นการซื้อเข้ามาประจำการทดแทนเครื่องบินขับไล่รุ่นเก่าของกองทัพ คือ F-5 และ F-16

แม้กระทั่งเมื่อครั้งที่เครื่องบินรบเมียนมาล้ำแดนเข้าเขตไทยที่ อ.พบพระ จ.ตาก ผบ.ทอ. ยังให้สัมภาษณ์ที่ จ. เชียงรายเมื่อ 1 ก.ค. ด้วยว่า โครงการจัดหาเครื่องบินเอฟเอฟ-35 เป็นโครงการที่จะทำให้เกิดความทันสมัยขึ้นใน “ทุกองคาพยพของกองทัพอากาศ”

พร้อมร่ายคุณสมบัติของเครื่องบินยุค 5 (เอฟ-35) ว่าแตกต่างจากเครื่องบินยุค 4 (อาทิ เอฟ-16) ทั้ง การล่องหนหายตัวผ่านระบบเรดาร์ที่มองไม่เห็น บินด้วยท่วงท่าพิสดารมากขึ้น มีเซ็นเซอร์รอบตัว บินระยะไกลด้วยความเร็วเสียงได้นานกว่าเครื่องบินยุค 4 ที่กินน้ำมันกว่า และมีความสามารถในการเชื่อมโยงข้อมูลในอนาคตที่เหนือกว่า

“ถ้าเราคิดจะมีของดี ผมไม่อยากให้คนไทยเราขัดขากันเอง เพราะเราจะพลาด สู้เราช่วยกันสนับสนุนได้มาดีกว่า แม้จะพลาด ก็ขอให้เป็นขั้นตอนที่เขาไม่ขายให้เรา ไม่ใช่เราขัดขา โยกเยกกันเอง จนเราพลาดตั้งแต่ยกแรก ไม่ใช่ยกสุดท้าย” ผบ. ทอ. กล่าว

ชี้แจงต่อกรรมาธิการงบประมาณ

แรกเริ่มเดิมที่ ทอ. มีแผนจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีทดแทน ระยะที่ 1 จำนวน 4 ลำ ใช้เงินงบประมาณกว่า 7,382.6 ล้านบาท

แต่ในการชี้แจงกับคณะกรรมาธิการฯ เมื่อ 18 ก.ค. ทอ. ชี้แจงว่า กรณีโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีทดแทน ระยะที่ 1 จำนวน 4 ลำ เป็นความคลาดเคลื่อนทางเอกสาร โดย ทอ. ตั้งใจว่าจะตั้งงบประมาณเพื่อจัดหา 2 ลำ จากเดิม 4 ลำ เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศช่วงนี้

ผบ. ทบ. ชี้แจงด้วยว่า การจัดหาเครื่องบินเอฟ-35 เป็นก้าวสำคัญของประเทศเพื่อบ่งบอกถึงความทันสมัยของกองทัพอากาศ และการจัดหาเครื่องบินดังกล่าวต้องผ่านการพิจารณาของสภาคองเกรส จึงดำเนินการจัดซื้อได้ ปัจจุบันยังมิได้รับการพิจารณาจากสภาคองเกรส ซึ่งการได้รับอนุญาตเป็นกระบวนการส่วนหนึ่งในการจัดซื้อ

ทอ. ได้ให้เหตุผล 2 ข้อว่า เพื่อทดแทนของเดิมที่มีอายุการใช้งานมานาน อะไหล่ในการซ่อมบำรุงหายากและมีราคาสูง และเพื่อยกระดับกองทัพให้มีความทันสมัยทั้งหมด และเป็นจุดเริ่มต้นของเครื่องบินรบยุคที่ 5

ถ้าหากประเทศไทยได้เครื่องบินเอฟ-35 การดูแลรักษาเทียบกับค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงเครื่องบินที่มีอายุการใช้งานมานาน การดูแลรักษาเครื่องบินใหม่จะทำให้ประหยัดงบประมาณ ดังนั้น การที่ได้รับงบประมาณอันจำกัดหน่วยงานต้องใช้งบประมาณให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด

อย่างไรก็ตาม คณะกรรมาธิการ ได้มีข้อสังเกตว่า การจัดหาเครื่องบินโจมตีทางยุทธศาสตร์เอฟ-35 ที่ต้องได้รับการพิจารณาและอนุมัติจากสภาคองเกรสก่อน ดังนั้น กองทัพอากาศ ควรให้สภาคองเกรสพิจารณาและอนุมัติในการจัดหาเครื่องบินเอฟ-35 เป็นที่เรียบร้อยก่อน จึงดำเนินการตั้งค่าของบประมาณในปีถัดไป

ฉากทัศน์ต่อจากนี้

“ให้ไป 300 กว่าล้าน ไม่ได้แปลว่าต้องจ่าย” สมชัย ศรีสุทธิยากร กมธ.งบประมาณ ปี 2566 อธิบายในรายการ “เจาะลึกทั่วไป อินไซต์ไทยแลนด์” ถึงงบประมาณ 369.1 ล้านบาท ที่อนุมัติให้กองทัพอากาศ เพื่อไปมัดจำเครื่องบินรบเอฟ-35 เอ พร้อมชี้ถึงฉากทัศน์ต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นต่อจากนี้

1. สภาคองเกรสไม่อนุมัติขายเครื่องบินให้ไทย หมายความว่าไทยไม่เสียเงิน 369.1 ล้านบาท และเงินที่ผูกพันต่อจากนี้ 4 ปี ทั้ง 7,382.6 ล้านบาท จะต้องยกเลิกทั้งหมด

2. ค่าเงินบาทแปรปรวนจนถึงจุดที่ทำให้ราคาเครื่องบินแพงเกินไป ไทยจะยกเลิกการสั่งซื้อ และให้กองทัพอากาศคืนเงินมัดจำกลับมา ไม่อนุญาตให้เปลี่ยนแปลงรายการสั่งซื้อในงบประมาณเป็นพาหนะ หรืออากาศยานรุ่นอื่น

นายสมชัยยังเปิดเผยถึงแผนเต็มของกองทัพอากาศในการจัดซื้อเครื่องบินรบเอฟ-35 ด้วยเหตุผลถึง “สมรรถนะทางการรบ” และ “ทำงานประสานกันเป็นทีม” กองทัพอากาศต้องมี 1 ฝูง หรือทั้งสิ้น 12 ลำ

“แต่การที่จะซื้ออีก 10 ลำ เป็นเรื่องที่ไม่ได้ผูกพันกับรัฐสภาและกรรมาธิการใด ๆ ทั้งสิ้น…เพราะต้องขอ (งบประมาณ) มาเป็นครั้ง ๆ”

ขอบคุณhttps://www.bbc.com/thai/articles/ce49y3x4q3do https://www.google.com/..1%E0%B8%A3%E0%B8%B4… https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A5%E0%B9%8..

ส่องสมรรถนะเครื่องบินรบจีน Chengdu J-20 บินว่อนรอบเกาะไต้หวัน!

ความตึงเครียดแถวหมู่เกาะไต้หวัน จากการยั่วยุของอเมริกันต่อนโยบายจีนเดียว ทำให้สถานการณ์ในคาบสมุทรจีนตอนใต้ร้อนระอุขึ้นมาทันที และมีทีท่าว่าจะเกิดการกระทบกระทั่งกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อกองทัพจีนสั่งซ้อมรบด้วยกระสุนและจรวดของจริง..

โดยจะเริ่มต้นการซ้อมรบครั้งใหญ่รอบๆ เกาะไต้หวัน ตั้งแต่วันที่ 4 ไปจนถึงวันที่ 7 สิงหาคม 2565 มีการระดมพลมากมายทั้งบก เรือ อากาศ โดยเฉพาะกองทัพอากาศจีนที่มีเครื่องบินรบรุ่นใหม่ ซึ่งเข้าประจำการอยู่ในฐานบินทหารรอบๆ ชายฝั่งและสามารถบินเข้าไปในแผ่นดินไต้หวัน ด้วยเวลาบินเพียงแค่ 7 นาทีเท่านั้นเอง ล่าสุด ทางการจีนออกประกาศให้เครื่องบินทุกประเภท หลีกเลี่ยงการบินเข้าใกล้เกาะไต้หวันในระหว่างการซ้อมรบครั้งใหญ่..

Chengdu J-20
..เครื่องบินล่องหนรุ่นใหม่อย่าง J-20 ซึ่งเป็นเครื่องบินรบพิสัยปานกลาง มีความสามารถในบินขับไล่ทางยุทธวิธี การโจมตีภาคพื้นดิน และใช้เวลาบินแค่ 7 นาที จากชายฝั่งเข้าไปยังผืนแผ่นดินของไต้หวัน

เทคโนโลยีพรางตัวทำให้เครื่องขับไล่โจมตี J-20 ตรวจจับได้ยาก นับเป็นเครื่องบินรบอนาคตที่ก้าวล้ำมากที่สุดของกองทัพอากาศจีน และน่าจะมีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับ F-22 Raptor บริษัท เฉิงตู แอร์คราฟท์ อินดัสทรี กรุ๊ป (Chengdu Aircraft Industry Group) (CAC) พัฒนาและสร้าง J-20 โดยใช้โครงสร้างหลักที่มีความคล้ายคลึงกับ F-35 ของค่ายอเมริกา ค่อนข้างมาก ขณะที่ลำตัว มีขนาดใหญ่กว่า F-22 ไม่มากนัก

J-20 ใช้เครื่องยนต์แบบ Saturn 117s ที่ผลิตในรัสเซียจำนวน 2 เครื่องยนต์ ระบบเรดาร์เป็นแบบ Active Electronically Scanned Array (AESA)

J-20 เครื่องบินรบล่องหนรุ่นใหม่ของจีน ถูกออกแบบมาเพื่อแข่งขันกับเครื่องบินรบรุ่นที่ห้าของสหรัฐอเมริกาอย่าง F-22 Raptor รวมถึงเครื่องบินรบยุคอนาคตของรัสเซีย เช่น Su-57 คาดว่า การพัฒนาอากาศยานรบรุ่นนี้ ได้รับความช่วยเหลือจากบริษัท Mikoyan (Russia) การผลิตเบื้องต้นของเครื่องบินรบจีนรุ่นใหม่ เริ่มต้นขึ้นในปี 2015 มีการนำเทคโนโลยี Stealth จึงนับเป็นเครื่องบินรบล่องหนลำแรกของจีน ที่มีการส่งมอบให้กับกองทัพอากาศจีนในปี 2016 และนำมาใช้บินอย่างเป็นทางการในปี 2017 ปัจจุบัน เข้าประจำการในกองทัพอากาศจีน เพื่อเป็นกำลังรบหลักในการป้องกันประเทศ

Chengdu J-20 ออกแบบให้มีช่องติดตั้งอาวุธขนาดใหญ่สองตำแหน่ง สำหรับติดตั้งขีปนาวุธอากาศสู่อากาศระยะไกลและสองช่องเล็กเพื่อติดตั้งขีปนาวุธอากาศสู่อากาศระยะสั้น ขีปนาวุธจะถูกเก็บไว้ในลำตัวเพื่อลดการตรวจจับจากเรดาร์ นอกจากนี้ยังมีถังเชื้อเพลิงขนาดใหญ่สำหรับปฏิบัติการบินระยะไกล

J-20 สามารถโหลดเชื้อเพลิงและอาวุธได้มากกว่า F-22 Raptor และมีขีดความสามารถในการปฏิบัติการด้วยความเร็วสูง เครื่องยนต์เทอร์โบแฟน WS-15 จำนวน 2 เครื่อง ทำความเร็วสูงสุดได้ 2.0 มัค หรือ 2,120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มีเพดานบินสูงสุด 59,055 ฟุต พิสัยบินปฏิบัติการไกล 3,400 กิโลเมตร

เทคโนโลยีใหม่ของการออกแบบพื้นผิวบังคับอันก้าวล้ำมีส่วนสำคัญที่ทำให้เครื่องบินขับไล่ล่องหน Chengdu J-20 Stealth Fighter มีความแตกต่างไปจากเครื่องบินรบทั่วไป หลักอากาศพลศาสตร์แบบใหม่ ประกอบไปด้วยระบบแอโรไดนามิกที่ถูกขัดเกลาในอุโมงค์ลม J-20 Stealth Fighter ใช้การออกแบบพื้นผิวสำหรับการสร้างแรงยกมหาศาล รวมถึงยังสามารถสร้างแรงกดได้เท่าที่ต้องการ และเมื่อวิศวกรการบินของกองทัพอากาศจีนได้ควบรวมแรงทั้งสองโดยออกแบบผิวพื้นของตัวเครื่องให้สามารถสร้างได้ทั้งแรงยกและแรงกดในระดับสูง ประสิทธิภาพทางการบินของ J-20 อยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับเครื่องบินรบของสหรัฐ

cr:https://www.thairath.co.th/news/auto/news/2463546

ฤา สหรัฐฯ เสื่อม? ไต้หวันส่ง จีน สู่มหาอำนาจโลกแทน

สหรัฐฯ เสื่อม?! ไต้หวันส่ง จีน สู่มหาอำนาจโลก – Money Chat Thailand |โดย- วิกรม กรมดิษฐ์ : เศรษฐกิจระหว่างประเทศ

จีนส่งเครื่องบินรบเข้าร่วมปฏิบัติการซ้อมรบประจำปีกับกองทัพอากาศไทยในวันนี้

จีนส่งเครื่องบินรบเข้าร่วมปฏิบัติการซ้อมรบประจำปีกับกองทัพอากาศไทยในวันนี้ ท่ามกลางความตึงเครียดระหว่างจีนและสหรัฐฯ ที่ทวีความรุนแรงขึ้น หลังการเยือนไต้หวันของประธานผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ

กองทัพอากาศจีน-ไทย เตรียมฝึกร่วมครั้งใหญ่ “Falcon Strike 2022” เป็นเวลา 10 วัน ที่อุดรธานี เริ่ม 14 ส.ค.65 จีนส่งเครื่องบินขับไล่ทิ้งระเบิด JH-7A โชว์ ขณะไทยส่งเครื่องบินกริพเพน 5 ลำ เครื่องบินโจมตีอัลฟ่าเจ็ท 3 ลำ ร่วม

“กองทัพอากาศจีน” ส่งเครื่องบินรบ เครื่องบินทิ้งระเบิด อุปกรณ์ทางทหารที่สมบูรณ์ที่สุด ร่วมซ้อมรบครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์กับ”กองทัพไทย” จนถึง 24 ส.ค. แม้”สหรัฐ”หาแนวร่วมกดดันต่อเนื่อง ดึง”ไทย”ไปเป็นข้าง แต่”ไทย”วางตัวเป็นกลาง” หากใครไม่กดดันเอาเปรียบ ไม่ก้าวก่ายกิจการภายในของไทยและซื้อสินค้าไทยมาก มิตรภาพก็มากตามไปด้วย เพราะ”ไทย”อยู่เป็น”รักทุกคน” ชนะแน่นอน ด้าน “สหรัฐ” ไม่ยอมให้”ไทย”นำเครื่องบินรบผลิตใน”สหรัฐ”ฝึกร่วมกับ”จีน”

วันนี้ (13 ส.ค.2565) สำนักข่าวเอพีรายงานว่า กระทรวงกลาโหมจีน เปิดเผยว่า กองทัพอากาศจีนส่งเครื่องบินขับไล่และเครื่องบินทิ้งระเบิดมายังประเทศไทย เพื่อซ้อมรบร่วมกับกองทัพอากาศไทยในปฏิบัติการ “ฟัลคอน สไตรท์” ที่จะเริ่มขึ้นในวันนี้เป็นวันแรก

การซ้อมรบดังกล่าวจะจัดขึ้นที่ฐานทัพอากาศ จ.อุดรธานี โดยจะฝึกซ้อมการสนับสนุนทางอากาศ การโจมตีเป้าหมายภาคพื้นดิน และการเคลื่อนกำลังพลทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่

ความเคลื่อนไหวนี้มีขึ้นระหว่างที่สหรัฐฯ เข้าร่วมปฏิบัติการซ้อมรบกับอินโดนีเซีย ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ บนเกาะสุมาตรา ซึ่งถือเป็นการซ้อมรบร่วมครั้งใหญ่ที่สุด นับตั้งแต่เริ่มจัดขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อปี 2552 และเกิดขึ้นหลังจากจีนเปิดปฏิบัติการซ้อมรบรอบเกาะไต้หวัน เพื่อตอบโต้การเดินทางเยือนไต้หวันของประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ

ด้านสหรัฐฯ ระบุว่าจะเดินหน้าสนับสนุนไต้หวันและรักษาเสรีภาพในภูมิภาคนี้ต่อไป โดยจะส่งเรือของกองทัพอเมริกัน แล่นผ่านช่องแคบไต้หวันในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้านี้ด้วย

การขยายกิจกรรมทางทหารของจีนในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก สร้างความกังวลให้แก่สหรัฐฯ และชาติพันธมิตร รวมทั้งการแข่งขันด้านยุทธศาสตร์และเศรษฐกิจที่ดุเดือดขึ้น ระหว่างจีนและสหรัฐฯ ส่งผลให้ความตึงเครียดระหว่างสองประเทศทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ

สหรัฐกร้าว ไม่หวั่นจีน ยืนยันจะวิ่งเรือผ่านน่านน้ำจีน อ้างเป็นเขตสากล

คำประกาศของสหรัฐมีขึ้นหลังจากจีนซ้อมรบทางทหารครั้งใหญ่ รอบๆเกาะไต้หวัน ซึ่งจีนมองว่าเป็นส่วนหนึ่งของดินแดน ระหว่างที่นางแนนซี เพโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฏรสหรัฐเดินทางเยือนเกาะแห่งนี้ช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา..

“เคิร์ท แคมป์เบลล์” ผู้ประสานงานทำเนียบขาวด้านภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และที่ปรึกษาของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ของสหรัฐ กล่าวว่า

“แม้ความตึงเครียดบริเวณช่องแคบไต้หวันจะเพิ่มขึ้น แต่กองกำลังสหรัฐจะยังคงบิน ล่องเรือและปฏิบัติการต่างๆ ตามที่กฎหมายระหว่างประเทศอนุญาต สอดคล้องกับพันธสัญญาที่มีมานานของเราต่อเสรีภาพแห่งการล่องเรือ ที่ครอบคลุมถึงการบินตามมาตรฐานและล่องเรือผ่านช่องแคบไต้หวัน ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า”

แคมป์เบลล์ ไม่ได้ยืนยันถึงรูปแบบการประจำการที่จะสนับสนุนปฏิบัติการครั้งนี้ โดยบอกว่าไม่ขอแสดงความคิดเห็นทั้งในแง่ลักษณะของการผ่านหรือช่วงเวลาของการผ่านช่องแคบไต้หวัน

นอกจากนี้ แคมป์เบลล์ ยังบอกด้วยว่า รัฐบาลสหรัฐเตรียมแถลงเกี่ยวกับโรดแมปที่เต็มไปด้วยความทะเยอทะยานสำหรับการมีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับไต้หวันให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น .

cr:https://www.bangkokbiznews.com/world/1020749
https://www.google.com/..B8%B4%E0%B9%88%E0….    

ด่วน!พบไวรัสใหม่ “เลย์วี LayV” ในจีน ติดเชื้อหลายสิบราย คาดต้นตอจาก “หนูผี”

 ไวรัสเลย์วี อยู่ในกลุ่มเดียวกับไวรัสนิปาห์ (Nipah) และไวรัสเฮนดรา (Hendra) ถูกพบครั้งแรกในมณฑลซานตงและเหอหนาน ทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีนช่วงปลายปี 2561 แต่เพิ่งถูกนักวิทยาศาสตร์ระบุถึงอย่างเป็นทางการเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว..

บรรดานักวิทยาศาสตร์จากจีน สิงคโปร์ และออสเตรเลีย เปิดเผยว่า ไวรัสเลย์วีถูกตรวจพบเบื้องต้นจากผู้ที่มีอาการไข้ในภาคตะวันออกของจีน ซึ่งมีประวัติสัมผัสกับสัตว์ในช่วงที่ผ่านมาซึ่งส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร ผู้ติดเชื้อจะมีอาการเหนื่อยล้า ไอ สูญเสียความอยากอาหาร และปวดศีรษะ นอกจากนี้ยังมีอาการผิดปกติของเซลล์เม็ดเลือด รวมถึงสัญญาณความเสียหายของตับและไต..

วารสารการแพทย์นิวอิงแลนด์ (The New England Journal of Medicine) ระบุว่า ผู้ป่วย 26 คนจากทั้งหมด 35 รายในกลุ่มข้างต้น ติดเชื้อไวรัสเลย์วี

ไวรัสดังกล่าวพบใน “หนูผี” (Shrew) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก มีลักษณะทั่วไปคล้ายหนู ประมาณ 27% ซึ่งมักเป็นพาหะของไวรัสเฮนิปาห์ (Henipavirus) ในตระกูลเดียวกัน จึงบ่งชี้ได้ว่า หนูผีอาจเป็นแหล่งรังโรคตามธรรมชาติ

ที่มา: Bloomberg, Guardian, Washington Post , bangkokbiznews