อิสราเอลเปิดฉากโจมตีอิหร่านแล้ว ..หุ้นดิ่งเหว น้ำมันพุ่ง..หวั่นนิวเคลียร์

สถานการณ์ตะวันออกกลางระอุอีกครั้ง ไม่กี่ชั่วโมงที่ผ่านมาสื่อสหรัฐฯ ระบุว่า อิสราเอลเปิดฉากโจมตีอิหร่าน และอิหร่านได้ยิงสกัดการโจมตีพร้อมสั่งปิดน่านฟ้า เปิดระบบป้องกันภัยทางอากาศในหลายเมือง ล่าสุดกองทัพอิสราเอลเปิดสัญญาณเตือนภัยทางตอนเหนือประเทศร่วมด้วย..

วันนี้ (19 เม.ย.2567) สำนักข่าวท้องถิ่นอิหร่าน รายงานว่า อิหร่านยิงสกัดการโจมตีทางอากาศในช่วงเช้าวันนี้ตามเวลาท้องถิ่น โดยยิงสกัดโดรนตกหลายลำ หลังจากมีเสียงระเบิดดังขึ้น ใกล้กับเมืองอิสฟาฮานทางตอนกลางของประเทศ ซึ่งเป็นที่ตั้งของฐานทัพอากาศหลักของกองทัพอิหร่าน ไปจนถึงสถานที่ซึ่งเกี่ยวข้องกับโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่าน ล่าสุดมีรายงานว่า โครงสร้างพื้นฐานเกี่ยวกับนิวเคลียร์ไม่ได้รับความเสียหายใดๆ..

ด้านเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ 2 คน เปิดเผยว่า อิสราเอลได้ยิงขีปนาวุธโจมตีอิหร่าน หลังจากก่อนหน้านี้มีข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ระดับสูงในรัฐบาลสหรัฐฯ ว่าอิสราเอลแจ้งแผนการโจมตีโต้กลับอิหร่านแล้วตั้งแต่วันพฤหัสบดีตามเวลาท้องถิ่น (18 เม.ย.2567) แต่สหรัฐฯ ไม่เห็นชอบกับท่าทีดังกล่าว

ขณะที่สื่อทางการอิหร่าน รายงานว่า พบโดรน 3 ลำเหนือน่านฟ้าเมืองอิสฟาฮาน เมื่อเวลาประมาณเที่ยงคืนครึ่ง ตามเวลาท้องถิ่น

เว็บไซต์ติดตามการบิน Flightradar24 ในช่วงเช้าวันนี้ตามเวลาท้องถิ่นในอิหร่าน แสดงให้เห็นเที่ยวบินที่เปลี่ยนเส้นทางออกจากน่านฟ้าเหนืออิหร่าน ขณะที่สื่อทางการอิหร่าน รายงานว่า ได้สั่งระงับการบินเหนือน่านฟ้าเมืองอิสฟาฮาน ชีราซ และกรุงเตหะรานแล้ว

นอกจากนี้ อิหร่านยังเปิดระบบป้องกันภัยทางอากาศในหลายเมือง ซึ่งอิสราเอลยังไม่ออกมาให้ข้อมูลใดๆ ในประเด็นการโจมตีโต้กลับอิหร่าน


อิหร่านขู่อิสราเอลเตรียมเอาคืนอย่างสาหัส
ความเคลื่อนไหวเหล่านี้มีขึ้นเพียงไม่นาน หลัง รมว.ต่างประเทศของอิหร่าน เตือนอิสราเอลในระหว่างการประชุมคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติว่า อิสราเอลจะต้องยุติการใช้ปฏิบัติการทางทหารที่มีความเสี่ยงต่อผลประโยชน์ของอิหร่าน และก่อนหน้านี้ อิบราฮิม ราอีซี ปธน.อิหร่าน เตือนว่าหากอิสราเอลตอบโต้การโจมตีของอิหร่านเพียงเล็กน้อย จะต้องเผชิญการโต้ตอบกลับอย่างเจ็บปวดและสาหัส

ความรุนแรงครั้งล่าสุดสร้างความกังวลให้นานาชาติที่พยายามเรียกร้องให้ทุกฝ่ายใช้ความอดทนอดกลั้น เพื่อไม่ให้ความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลางรุนแรงไปมากกว่านี้

แต่ เบนจามิน เนทันยาฮู นายกฯ อิสราเอล ยืนยันก่อนหน้านี้ว่า อิสราเอลจะตัดสินใจเรื่องนี้ด้วยตัวเอง และจะทำทุกอย่างที่จำเป็นเพื่อปกป้องตัวเอง.

cr:https://www.thaipbs.or.th/news/content/339175

ควันหลงจากวันที่13นี้ อิหร่านโจมตี /อิสราเอลเสียค่าจรวดป้องกันประมาณ4หมื่นล้านบาท

อิหร่าน เผยค่าใช้จ่าย #ขีปนาวุธ ยิงใส่อิสราเอลโดยประมาณจากปฏิบัติการเมื่อคืนนี้:..
ขีปนาวุธ 110 ลูก: 30-50 ล้านดอลลาร์
ขีปนาวุธร่อน 45 ลูก: 4-7 ล้านดอลลาร์
ชาเฮด-136: 4-5 ล้านดอลลาร์
รวม: 62 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ2พันล้านบาท)

อิหร่านเริ่มโจมตีอิสราเอลแล้วด้วยโดรนและขีปนาวุธจำนวนมาก #war #iran #israel

อิหร่านเริ่มโจมตีอิสราเอลแล้วด้วยโดรนและขีปนาวุธจำนวนมาก #war #iran #israel

วันนี้ (14 เม.ย.2567) สำนักข่าว BBC รายงานว่าเมื่อเวลา 03.00 น.ตามเวลาท้องถิ่น เกิดสถานการณ์ตึงเครียดในตะวันออกกลาง หลังอิหร่านตอบโต้อิสราเอลด้วยการยิงโดรน และขีปนาวุธเกือบ 200 ลำใส่อิสราเอล ซึ่งถือเป็นการเปิดฉากโจมตีครั้งแรก เพื่อตอบโต้สถานกงสุลอิหร่านในกรุงดามัสกัสของซีเรีย ถูกทิ้งระเบิดโจมตีเมื่อวันที่ 1 เม.ย.จนทำให้มีผู้เสียชีวิต 13 คน..

เหนือท้องฟ้าในเมืองเฮบรอน ดินแดนปาเลสไตน์ ระหว่างการโจมตีของอิหร่านต่ออิสราเอลที่ AFPTV ถ่ายได้แสดงให้เห็นการระเบิดที่ส่องสว่างบนท้องฟ้าในในอิสราเอล ท่ามกลางเสียงไซเรนดังขึ้น ขณะที่วัตถุนับสิบลูกถูกสกัดกั้นโดยระบบป้องกันภัยทางอากาศของอิสราเอลถูกยิงตกนอกอาณาเขต

ขณะที่ เบนจามิน เนทันยาฮู นายกรัฐมนตรีอิสราเอล ระบุว่ากองทัพพร้อมสำหรับทุกสถานการณ์ทั้งนี้อิสราเอลสั่งปิดน่านฟ้า เพื่อรับมือกับการโจมตีของอิหร่านครั้งนี้ รวมทั้งประเทศจอร์แดน เลบานอน และอิรัก ได้ประกาศปิดน่านฟ้า เช่นเดียวกัน

ความเคลื่อนไหวของอิหร่านในการพุ่งเป้าโจมตีดินแดนของอิสราเอล ถือเป็นการเปิดปฏิบัติการโจมตีอิสราเอลอย่างเต็มรูปแบบครั้งแรก อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่าอิหร่าน จะไม่ทำการโจมตีเพิ่มเติม แต่เป็นการเตือนเรื่องการตอบโต้ของอิสราเอลหรือการมีส่วนร่วมของสหรัฐฯ ที่มีการยิงโดรนใส่สถานกงสุล เนื่องจากการโจมตีสถานเอกอัครราชทูต หรือสถานกงสุลของประเทศใดก็ตามไม่ต่างจากการพุ่งเป้าโจมตีแผ่นดินของประเทศนั้นโดยตรง

ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 12 เม.ย. ประธานธิบดี โจ ไบเดน ของสหรัฐ คาดว่าอิหร่านจะโจมตีอิสราเอลไม่ช้าก็เร็ว พร้อมกับเตือนไม่ให้อิหร่านดำเนินการดังกล่าว พร้อมย้ำความมุ่งมั่นของสหรัฐฯ ที่จะปกป้องอิสราเอล โดยไบเดน จัดการประชุมเร่งด่วนกับเจ้าหน้าที่ความมั่นคงระดับสูงของเขาเกี่ยวกับวิกฤตที่ทวีความรุนแรงขึ้นในตะวันออกกลาง..

เศรษฐา สั่งเกาะติด-พร้อมอพยพคนไทย

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง มีถึงประชาชน โดยได้สั่งการ และประกาศเตือนประชาชนคนไทย หลังเหตุความตึงเครียดระหว่างอิสราเอลและอิหร่านเพิ่มมากขึ้น รัฐบาลและกระทรวงการต่างประเทศมีความเป็นห่วงพี่น้องคนไทยในพื้นที่ที่อาจได้รับผลกระทบโดยตรง จึงได้สั่งการให้สถานเอกอัครราชทูตในภูมิภาคติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

โดยสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเทลอาวีฟ ได้จัดทำประกาศแจ้งเตือนคนไทยให้เตรียมความพร้อม รวมถึงแนวปฏิบัติในภาวะฉุกเฉินด้วยแล้ว โดยขอให้พี่น้องคนไทยตื่นตัว และติดตามการประกาศและการแจ้งเตือนต่าง ๆ ของสถานทูตไทยในภูมิภาคอย่างใกล้ชิด

ขอให้ประชาชนไทยหลีกเลี่ยงการเดินทางไปพื้นที่ดังกล่าว หากไม่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง ในกรณีฉุกเฉินพี่น้องคนไทยสามารถติดต่อขอรับความช่วยเหลือเร่งด่วนได้ที่สถานเอกอัครราชทูตไทยในประเทศต่าง ๆ ทุกแห่ง..

สถานีโทรทัศน์ช่อง 12 ของอิสราเอล รายงานว่า เครื่องบินรบของสหรัฐฯ และอังกฤษมีส่วนร่วมในการยิงสกัดโดรนที่มุ่งหน้ามายังอิสราเอล ตกเหนือพื้นที่ชายแดนอิรัก-ซีเรียเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ 3 คนกล่าวว่ากองทัพสหรัฐฯ ยิงเครื่องบินโดรนตกโดยไม่บอกว่ามีจำนวนกี่ลำ

พลเรือตรีแดเนียล ฮาการี โฆษกกองทัพอิสราเอล กล่าวว่า “นี่เป็นการยกระดับการโจมตีที่รุนแรงและอันตราย ความสามารถในการป้องกันและรุกของเราอยู่ในระดับพร้อมสูงสุดก่อนการโจมตีขนาดใหญ่จากอิหร่าน”

cr:https://www.google.com/E0%B8%A7%E0%B8%B8%E0%B..
Donnie,BBC,Iran News

Iron Dome ของอิสราเอล ลงทุนนับหมื่นล้าน ใช้ทำอะไร ?

ในการโจมตีของกลุ่มติดอาวุธปาเลสไตน์ “ฮามาส” ใส่พื้นที่ต่าง ๆ ของอิสราเอลที่ผ่านมา มักจะมาในลักษณะของการยิงปืนใหญ่และจรวดขีปนาวุธเข้ามาในหลักเป็นพัน ๆ ลูก ซึ่งหากมันตกใส่อิสราเอลทั้งหมด สิ่งที่จะเกิดคือความหายนะอย่างไม่ต้องสงสัย..

หนึ่งในยุทโธปกรณ์ที่สำคัญที่สุดของอิสราเอลในการป้องกันและสกัดกั้นไม่ให้ขีปนาวุธจากฮามาสตกใส่บ้านเมืองก็คือ ระบบป้องกันขีปนาวุธที่มีชื่อว่า “ไอรอนโดม” (Iron Dome) หรือ “โดมเหล็ก”

ไอรอนโดมมีลักษณะเป็นระบบป้องกันภัยทางอากาศเคลื่อนที่ โดยใน 1 ระบบประกอบด้วย 10 กอง ซึ่งแต่ละกองสามารถบรรทุกเครื่องยิงขีปนาวุธได้ 3-4 เครื่อง..

เมื่อมีการโจมตี กองทัพอิสราเอลจะเคลื่อนตำแหน่งนำไอรอนโดมไปประจำการตามจุดต่าง ๆ ที่มีความได้เปรียบในเชิงกลยุทธ์ สร้างแนวกำแพงสำหรับป้องกันจรวด กระสุนปืนใหญ่ และโดรน ให้การป้องกันพื้นที่ได้ครอบคลุมถึง 155 ตารางกิโลเมตร

กองทัพอิสราเอล (IDF) เคยกล่าวว่า ไอรอนโดมนั้นมีประสิทธิภาพที่สูงมาก โดยระบบนี้มีอัตราความสำเร็จสูง เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ซึ่งอิสราเอลถูกกลุ่มญิฮาดอิสลามยิงจรวดใส่ ก็สามารถสกัดกั้นได้ถึง 95.6%

การพัฒนาไอรอนโดมเริ่มขึ้นครั้งแรกตั้งแต่ปี 2007 ซึ่งตรงกับช่วงเวลาที่กลุ่มฮามาสขึ้นปกครองพื้นที่ฉนวนกาซาพอดี หลังจากนั้นก็ดำเนินการทดสอบในปี 2008-2009 ก่อนที่ไอรอนโดมชุดแรกจะถูกนำมาใช้งานจริงในปี 2011 และจากนั้นระบบก็ได้รับการอัปเกรดหลายครั้งเรื่อยมา

ไอรอนโดมทำงานอย่างไร?

สำหรับการทำงานของไอรอนโดมนั้น มี 4 ขั้นตอนหลัก ๆ คือ ตรวจจับ ทำนาย ประเมิน และสกัดกั้น

ในขั้นตอนแรก เรดาร์ของระบบไอรอนโดมจะตรวจจับจรวดที่ยิงเข้ามาภายในระยะ 4-70 กิโลเมตรจากตัวเครื่องยิงสกัดกั้น และส่งข้อมูลเกี่ยวกับเส้นทางของจรวดไปยังศูนย์บัญชาการและควบคุม
ศูนย์ควบคุมจะคำนวณและทำนายตำแหน่ง ว่าวิถีจรวดเป็นอย่างไร หากยิงขีปนาวุธต่อต้าน จะบรรจบกันที่จุดไหน และคาดการณ์ว่า จรวดนั้นจะโจมตีพื้นที่ที่มีคนอาศัยอยู่หรือไม่
จากนั้นระบบจะประเมินให้ความสนใจเฉพาะจรวดที่ก่อให้เกิดภัยคุกคามสูงสุดต่อพื้นที่เมืองและโครงสร้างพื้นฐาน เมื่อต้องรับมือกับภัยคุกคามหลายจุดพร้อมกัน โดยจะไม่สนใจจรวดที่มีแนวโน้มจะโจมตีพื้นที่ที่ไม่มีผู้คนอาศัยอยู่หรือในทะเล
สุดท้าย ระบบควบคุมจะเชื่อมต่อกับตัวสั่งการที่จะยิงขีปนาวุธเพื่อทำลายจรวด หากประเมินแล้วว่ามีความสมเหตุสมผลที่จะต้องสกัดกั้น หากจรวดก่อให้เกิดภัยคุกคาม ไอรอนโดมจะยิงขีปนาวุธจากพื้นดินเพื่อทำลายจรวดนั้นขณะอยู่กลางอากาศ

อิสราเอลมีกองไอรอนโดมอยู่ 10 กองทั่วอิสราเอล แต่ละกองมีเครื่องยิงขีปนาวุธ 3-4 เครื่อง สามารถเคลื่อนย้ายได้ง่ายและใช้เวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมงในการติดตั้ง และเครื่องสกัดกั้นขีปนาวุธเองก็มีความคล่องตัวสูง

ทั้งนี้ ไอรอนโดมจะต่างจากระบบป้องกันภัยทางอากาศอื่น ๆ ที่ออกแบบมาเพื่อหยุดขีปนาวุธ เพราะจะกำหนดเป้าหมายไปที่จรวดไม่นำวิถีในระดับความสูงต่ำ ซึ่งเป็นประเภทที่มักใช้โดยกลุ่มติดอาวุธในฉนวนกาซา..

△ค่าใช้จ่ายในการใช้งานไอรอนโดมสูงมาก เพราะขีปนาวุธที่ใช้สกัดกั้นแต่ละลูกมีราคาประมาณ 40,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.4 ล้านบาท) ดังนั้นการสกัดกั้นจรวดที่เข้ามานับพันลูกจึงสร้างภาระทางการเงินให้กับอิราเอลพอสมควร.

ที่มา https://www.pohchae.com/2023/10/10/iron-dome-israel/

‘โดรนพิฆาตShahed’จากอิหร่าน – อาวุธเด็ดของรัสเซียในสงครามยูเครน

อาวุธที่สำคัญชนิดหนึ่งที่รัสเซียใช้ในสงครามรุกรานยูเครน คือโดรนชาเฮด (Shahed) ซึ่งผลิตในอิหร่าน และอาจกลายมาเป็นปัจจัยกำหนดความได้เปรียบในทางรบที่กำลังเกิดขึ้นอย่างดุเดือด..

เนื่องจากเป็นโดรนราคาถูก และติดเทคโนโลยีนำทางเพื่อความแม่นยำ อาวุธชนิดนี้ที่รัสเซียนำมาเปลี่ยนชื่อเป็น เกอราน-2 จึงสามารถนำมาใช้ในปริมาณมาก และได้ชื่อว่า “ขีปนาวุธร่อนของคนจน” ตามรายงานของเอพี

โดรนชาเฮด ที่ติดระเบิดเพื่อการทิ้งตัวทำลายเป้าหมาย มีความคล้ายการโจมตีแบบ “กามิกาเซ่” ของญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่สองหรือการพุ่งชนเป้าหมายเพื่อให้เกิดการระเบิดเสียหาย

ข้อมูลของสื่อออนไลน์ยูเครน Defense Express อ้างตัวเลขจากอิหร่านที่ระบุว่า ชาเฮด เป็นโดรนรูปสามเหลี่ยม มีความยาว 3.5 เมตร กว้าง 2.5 เมตร นำ้หนักประมาณ 200 กิโลกรัม

โดรนชนิดนี้ติดเครื่องยนต์ 50 แรงม้า และมีความเร็วสูงสุด 114 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

เอพีรายงานว่าราคาของโดรนชาเฮดอยู่ที่ราว 2 หมื่นดอลลาร์ ซึ่งราคาคิดเป็นเศษเสี้ยวของขีปนาวุธเต็มรูปเเบบ อย่างเช่น ขีปนาวุธร่อนรุ่น คาลิเบอร์ (Kalibr) ของกองทัพรัสเซียที่ราคา 1 ล้านดอลลาร์ต่อลูก

​ก่อนหน้านี้ รัสเซียใช้ขีปนาวุธร่อนคาลิเบอร์ โจมตียูเครนอย่างกว้างขวางในช่วง 8 เดือนเเรกของสงคราม

โดรนชาเฮด เคยถูกใช้มาเเล้วในเยเมน และในการโจมตีเรือบรรทุกนำ้มันเมื่อปีที่เเล้ว ตามข้อมูลของ บีห์นาม เบน ตาเลบลู นักวิเคราะห์แห่งหน่วยงานคลังสมองในกรุงวอชิงตัน Foundation for Defense of Democracies

การนำ “โดรนพิฆาต” ชนิดนี้มาใช้ในยูเครนเวลานี้มีลักษณะน่าสนใจคือ แม้โดรนชาเฮดจะบินได้ไกล 1,000 กิโลเมตร แต่ผู้เชี่ยวชาญเรื่องโดรน แซเมล เบนเด็ตต์ แห่งองค์กรวิจัยด้านนโยบาย CNA กล่าวว่าระยะบินของโดรนดังกล่าวในสงครามยูเครนสั้นกว่านั้น

เขาอธิบายว่า สาเหตุที่โดรนบินในระยะที่ใกล้กว่าศักยภาพจริง เพราะต้องการหลีกเลี่ยงการถูกใช้เคลื่อนก่อกวนระบบนำทางจีพีเอสนั่นเอง

รัสเซียใช้โดรนชนิดนี้หลายลำโหมโจมตียูเครน เพื่อเลี่ยงความเสี่ยงถูกโต้กลับรุนเเรงต่อเครื่องบินรบล้ำสมัย และลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของนักบินด้วย

นอกจากนั้นรัสเซียสามารถเก็บขีปนาวุธพิสัยไกลความเเม่นยำสูงที่มีอยู่อย่างจำกัด ไว้ใช้เมื่อถึงเวลาจำเป็น

สำหรับข้อจำกัดของโดรนชาเฮด มิโคลา เบไลสคอฟ นักวิจัยแห่งสถาบันยุทธศาสตร์ศึกษาของยูเครนกล่าวว่าระเบิดที่นำขึ้นไปกับโดรนจะมีนำ้หนักเพียง 40 กิโลกรัม..

บไลสคอฟ กล่าวว่าปริมาณดังกล่าวถือว่าน้อยมากหากเทียบกับขีปนาวุธแบบปกติ ที่บินได้ไกลกว่ามากและสามารถติดระเบิดได้หนักถึง 480 กิโลกรัม

แต่โดรนชาเฮดยังคงสามารถสร้างความเสียหายที่รุนเเรงและส่งผลถึงขวัญกำลังในทหารยูเครนได้

ในการโจมตีเมื่อวันจันทร์ โดรนลำหนึ่งทิ้งตัวลงไปยังอาคารที่พักอาศัยและทำลายห้องพัก 3 ห้องและทำให้มีผู้เสียชีวิต 4 คน

เบไลสคอฟ กล่าวว่าการโจมตีด้วยโดรนชาเฮด สร้างความหวั่นเกรงและความไม่มั่นใจในศักยภาพของระบบป้องกันทางอากาศของยูเครน

อย่างไรก็ตามเขาระบุว่า แม้รัสเซียจะใช้โดรนชนิดนี้จำนวนมาก แต่สิ่งที่รัสเซียไม่ได้กลับคืนมา คือดินแดนที่ยูเครนสามารถรุกคืบเข้าไปได้ในช่วงที่ผ่านมา.

‘โดรนพิฆาตShahed’จากอิหร่าน – อาวุธเด็ดของรัสเซียในสงครามยูเครน

โดรนพิฆาตShahed’จากอิหร่าน – อาวุธเด็ดของรัสเซียในสงครามยูเครน
#โดรนพิฆาต #Shahed #อิหร่าน #อาวุธเด็ดของรัสเซีย #สงครามยูเครน

cr:https://www.voathai.com/a/6795332.html , AP
https://en.defence-ua.com/news/ukrainians_raise_funds_to_buy_a_shahed_hunter-4536

รวมรอบรู้ไฮเทค คลิก

เรือดำน้ำรัสเซียติดหัวรบนิวเคลียร์ ‘โพไซดอน’ แสนยานุภาพสุดสะพรึงขนาดทำให้แผ่นดินไหวได้

อาวุธสุดร้าย ทำลายล้างโลก ของรัสเซีย “โดรนใต้น้ำติดหัวรบนิวเคลียร์” ใกล้เสร็จสมบูรณ์แล้ว เหลือแต่ทดสอบขั้นสุดท้ายเท่านั้น เผยแสนยานุภาพสุดสะพรึงขนาดทำให้แผ่นดินไหวได้ แล่นได้ไกลถึงอเมริกา..

https://www.youtube.com/watch?v=ukYnAyd3yZw

เมื่อ 24 ส.ค.63 เว็บไซต์เดอะ ซัน รายงาน อาวุธแสนยานุภาพสุดร้ายกาจ โดรนใต้น้ำนิวเคลียร์ เรือดำน้ำติดหัวรบนิวเคลียร์ไร้คนขับ ของรัสเซีย ที่ถูกตั้งชื่อให้ว่า ‘โพไซดอน’ (Poseidon) ใกล้จะเสร็จสมบูรณ์แล้ว โดยขณะนี้กำลังอยู่ในการทดสอบขั้นตอนสุดท้าย หลังจากกระทรวงกลาโหมรัสเซียได้เผยโฉม ‘เขี้ยวเล็บ’ อาวุธสุดอันตราย ล่าสุดของกองทัพเรือรัสเซีย ข่มขวัญสหรัฐอเมริกา ชาติมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลก เนื่องในวันกองทัพเรือรัสเซีย เมื่อเดือนกรกฎาคม ที่ผ่านมา..

มีรายงานว่า ข้อมูลโดรนใต้น้ำติดหัวรบนิวเคลียร์สุดร้ายกาจ โพไซดอน ของรัฐบาลรัสเซียภายใต้การนำของประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน แห่งรัสเซียได้หลุดออกมาถึงมือนักข่าวรัสเซีย ตั้งแต่ปลายปี 2558 ซึ่งขณะนั้น เรียกว่า ‘Ocean Multipurpose System Status-6’ ไม่ใช่ โพไซดอน ซึ่งตามรายงานของสื่อรัสเซีย เผยว่า โดรนใต้น้ำนิวเคลียร์โพไซดอนนี้ สามารถแล่นใต้น้ำด้วยความเร็ว 85 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และสามารถแล่นข้ามทวีป ในระยะทางได้ไกลถึง 10,000 กิโลเมตร อีกทั้งยังสามารถติดหัวรบนิวเคลียร์ขนาด 100 เมกะตัน

นาวาเอก คอนสแตนติด ซิฟคอฟ แห่งกองทัพเรือรัสเซีย กล่าวเมื่อเร็วๆ นี้ว่า โดรนใต้น้ำนิวเคลียร์โพไซดอน อาจทำให้แผ่นเปลือกโลกแยก และสามารถทำลายอนุทวีปอเมริกาเหนือได้ทั้งหมดเลยทีเดียว เนื่องจากการขยับของแผ่นเปลือกโลกนั้นส่งผลให้เกิดแผ่นดินไหวที่สามารถทำลายเมืองได้ทั้งเมือง โดยนาวาเอกซิฟคอฟ ยังอ้างว่า ตอนนี้ สหรัฐฯ รู้สึกหวาดกลัว และถึงกับเคยเรียกร้องให้รัฐบาลรัสเซียหยุดพัฒนาอาวุธทำลายล้างโลกนี้

cr ภาพ : Moscow Times
cr https://www.thairath.co.th/news/foreign/1917227
https://www.google.com/..ahUKEwiv_Kmg2-P6AhX..


หากรัสเซียใช้อาวุธนิวเคลียร์จะเกิดอะไรขึ้น? ชาติตะวันตกจะรับมืออย่างไร?

ณ วันนี้ที่รัสเซียเพลี่ยงพล้ำอย่างหนักในยูเครนตลอดช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ขณะที่ปฏิบัติการโต้กลับของกองทัพเคียฟยังคงดำเนินต่อไป โดยได้รับทั้งเงิน ทั้งอาวุธจากอเมริกาและกลุ่มนาโต้ที่สหรัฐฯเป็นหัวหอกหลัก ทำให้เกิดความกังวลเรื่องก้าวต่อไปของ วลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย ซึ่งดูเหมือนจะเหลือทางเลือกไม่มาก และอาจถึงขั้นตัดสินใจใช้อาวุธนิวเคลียร์..

วลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีแห่งรัสเซีย ออกแถลงการณ์เมื่อวันอังคารที่ 20 ก.ย. 2565 ที่ผ่านมา ประกาศระดมกำลังพลสำรองจำนวน 300,000 นาย ส่งเข้าไปเสริมกำลังในยูเครน และขู่ชาติตะวันตกว่า พร้อมใช้อาวุธทุกอย่างรวมถึงนิวเคลียร์ เพื่อปกป้องดินแดนของประเทศ โดยย้ำว่า “นี่ไม่ใช่คำขู่”

แม้ปูตินระดมทหารส่งเข้าสู่ยูเครนเพิ่ม แต่คาดกันว่า กระบวนการนี้จะใช้เวลานานหลายเดือน ทำให้ยังคงมีความเป็นไปได้ที่เขาจะใช้อาวุธนิวเคลียร์ในยูเครน โดยเฉพาะอาวุธนิวเคลียร์เชิงยุทธวิธี (tactical nuke) ที่มีขนาดเล็กกว่า เพื่อหยุดการสนับสนุนของชาติตะวันตก และสร้างความได้เปรียบทางจิตวิทยา

อะไรจะเกิดขึ้นหากรัสเซียตัดสินใจใช้อาวุธนิวเคลียร์ขึ้นมาจริงๆ? ชาติตะวันตกจะรับมือกับปัญหาอันซับซ้อนนี้อย่างไร เพราะหากตอบโต้รุนแรงเกินไป ก็อาจทำให้สถานการณ์บานปลายกลายเป็นสงครามนิวเคลียร์ แต่ถ้าเบาเกินไป ก็อาจทำให้เกิดปัญหาวุ่นวายยิ่งกว่าตามมา

ตามการวิเคราะห์ของสำนักข่าว วอชิงตัน โพสต์ สื่อใหญ่ของสหรัฐฯ เดิมทีปูตินไม่ได้ต้องการใช้อาวุธนิวเคลียร์ และไม่อยากให้สงครามในยูเครนยืดเยื้อ แต่เป็นเพราะเขายังชนะไม่ได้ ทำให้เขาอาจตัดสินใจใช้อาวุธมหาประลัยนี้

สำหรับปูติน การใช้อาวุธนิวเคลียร์ไม่ใช่หนทางพลิกจากแพ้เป็นชนะ แต่เป็นการคว้าทางรอดทางการเมืองและทางกายด้วย เพราะไม่เหมือนผู้นำชาติประชาธิปไตยอื่นๆ เขาไม่มีหนทางลงจากอำนาจอย่างสงบสุขหลังสร้างความเสียหายไว้มากมายเช่นนี้ มีตัวอย่างในประวัติศาสตร์ให้เห็นแล้วในราชวงศ์ซาร์ เขารู้ดีว่าไม่มีทางจบสวย

ด้วยเหตุนั้น ปูตินอาจใช้หลักการที่ชาติตะวันตกเรียกว่า ‘บานปลายเพื่อลดการบานปลาย’ (escalate to de-escalate) ใช้อาวุธนิวเคลียร์เพื่อหลีกเลี่ยงความพ่ายแพ้ในสงครามตามรูปแบบที่ปราศจากการใช้อาวุธนิวเคลียร์ เขาอาจกดระเบิดนิวเคลียร์ทางยุทธวิธี 1 ลูกหรือมากกว่า โดยนิวเคลียร์ประเภทนี้มีแรงระเบิดพอแค่ทำลายฐานที่มั่นของกองทัพยูเครน หรือศูนย์กลางการขนส่ง แต่เล็กเกินกว่าจะถล่มทั้งเมือง

การทิ้งระเบิดนิวเคลียร์จะเป็นการส่งสัญญาณว่า ปูตินพร้อมจะทำอีก ซึ่งอาจทำให้กองทัพยูเครนตัดสินใจยอมแพ้ ขณะที่ชาติตะวันตกอาจตัดสินใจถอนตัวจากความขัดแย้ง เพื่อที่เขาจะได้สามารถประกาศชัยชนะ และอยู่ในอำนาจต่อไปได้

แต่ผลที่ตามมาจริงๆ นั้นเป็นเรื่องยากที่จะคาดเดา การทิ้งระเบิดนิวเคลียร์อาจส่งผลเสียแก่รัสเซียแทน เนื่องจากแนวหน้าการปะทะในยูเครนมีความยาวมาก และทหารเคียฟก็กระจายตัวกันไป ทำให้นิวเคลียร์ทางยุทธวิธีสร้างความเสียหายได้ไม่มากไปกว่าอาวุธตามแบบแผนที่ใช้กันอยู่ การควบคุมกัมมันตภาพรังสีก็ทำได้ยาก และอาจทำร้ายต่อทหารฝ่ายตัวเอง และดินแดนที่ถูกโจมตีด้วย

ไม่เพียงเท่านั้น การใช้อาวุธนิวเคลียร์จะสร้างความหวาดกลัวไปทั่วโลก และทำให้สหรัฐฯ นาโต มีมาตรการตอบโต้ที่รุนแรงยิ่งขึ้นตามมาอย่างแน่นอน ซึ่งอาจทำให้สงครามยืดเยื้อออกไปอีก

ความวุ่นวายที่จะตามมา

จนถึงตอนนี้ อาวุธนิวเคลียร์เป็นสิ่งที่ประเทศขนาดใหญ่และมหาอำนาจทางทหารมีในครอบครอง แต่ไม่ใช่สำหรับประเทศขนาดเล็ก แต่การใช้อาวุธนิวเคลียร์ของรัสเซียจะทำลายข้อห้ามยุคสงครามเย็น ที่ห้ามใช้อาวุธนิวเคลียร์นอกจากการป้องปรามเท่านั้น หากรัสเซียรอดไปได้โดยไม่ถูกลงโทษ ก็จะกลายเป็นแบบอย่างให้ประเทศหัวรุนแรงอื่นๆ ทำตาม ขณะที่ชาติซึ่งละทิ้งอาวุธนิวเคลียร์ไปแล้วอย่างเช่นยูเครน ก็อาจกลับมาสร้างขุมกำลังนิวเคลียร์ของตัวเอง

ตัวอย่างมีให้เห็นมาแล้วในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 นายกรัฐมนตรี คอนราด อเดนอยเออร์ แห่งเยอรมนีมีแผนสร้าง ระเบิดยูโรเปียน ร่วมกับฝรั่งเศสและอิตาลี เพื่อไม่ต้องพึ่งพานิวเคลียร์ของสหรัฐฯ รัฐมนตรีกลาโหมของทั้ง 3 ประเทศถึงกับเคยลงนามข้อตกลงลับร่วมกันในเดือนพฤศจิกายน 2500 แต่โครงการกลับถูกล้มเลิกโดยประธานาธิบดี ชาร์ลส์ เดอ โกล ที่ต้องการให้ฝรั่งเศสมีอาวุธนิวเคลียร์เป็นของตัวเอง

ชาติยุโรปหลายประเทศก็มีการพิจารณาพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ของตัวเอง ไม่ว่าจะเยอรมนี, ฝรั่งเศส, สหราชอาณาจักร หรือแม้กระทั่ง สวีเดน ซึ่งผลการศึกษาเมื่อไม่นานมานี้ชี้ว่า พวกเขาเข้าใกล้การครอบครองอาวุธนิวเคลียร์มากกว่าที่เคยคิดเอาไว้

การละเมิดข้อห้ามเรื่องการใช้อาวุธนิวเคลียร์ จะทำให้มีการพัฒนาระเบิดปรมาณูมากขึ้น และสงครามนิวเคลียร์ไม่ว่าจะโดยตั้งใจหรือไม่ จะมีโอกาสเกิดสูงขึ้นในพื้นที่ต่างๆ ทั่วโลก ตั้งแต่ตะวันตก ไปจนถึงเอเชียใต้และเอเชียตะวันออก

นายแมทธิว โครนิก จากสภาแอตแลนติก คณะวิจัยเก่าแก่เรื่องกิจการระหว่างประเทศในสหรัฐฯ วิเคราะห์ทางเลือกที่สหรัฐฯ และชาติตะวันตกสามารถทำได้เพื่อป้องปรามหรือจำกัดการใช้อาวุธนิวเคลียร์ของรัสเซีย อย่างแรกคือ การยกระดับมาตรการลงโทษมอสโกที่ใช้อยู่ให้รุนแรงขึ้นอีกหลายเท่าตัว ตัดขาดรัสเซียจากโลกตะวันตกอย่างสิ้นเชิง ไม่ใช่แค่เล็มออก และส่งอาวุธให้ยูเครนมากขึ้น และเพิ่มกองกำลังของนาโตในแนวหน้าฝั่งตะวันออก รวมถึงอาวุธนิวเคลียร์

ปัญหาคือ มาตรการนี้อาจไม่น่ากลัวเพียงพอเปลี่ยนใจปูติน เพราะรัสเซียโดนคว่ำบาตรหนักอยู่แล้ว หากเขาจนตรอกขึ้นมา ก็ไม่มีเหตุผลที่จะไม่ทุ่มหมดหน้าตัก ขณะเดียวกัน แผนการเดียวกันนี้อาจจะดูน้อยเกินไปสำหรับชาวยูเครน ทำให้ชาติพันธมิตรเสียกำลังใจ และเป็นตัวอย่างให้ผู้นำเผด็จการอย่าง คิม จอง-อึน แห่งเกาหลีเหนือเห็นว่า พวกเขาสามารถยิงขีปนาวุธแล้วรอดตัวไปได้

การตอบสนองของชาติตะวันตก โดยเฉพาะลูกพี่ใหญ่อย่างสหรัฐฯ ต้องเข้มแข็งกว่านี้ โจ ไบเดน มีตัวเลือกทางทหาร 2 ทาง อย่างแรกคือ ยิงมายิงกลับ ขู่ด้วยอาวุธนิวเคลียร์ทางยุทธวิธีลงมหาสมุทรอาร์กติก หรือในพื้นที่รกร้างในไซบีเรีย เพื่อกดดันรัสเซียและสร้างความมั่นใจให้ยูเครนกับพันธมิตร ว่าสหรัฐฯ พร้อมที่จะตอบโต้ และพร้อมที่จะใช้นิวเคลียร์เพื่อการป้องปราม

แต่วิธีนี้จะทำให้เกิดการเผชิญหน้ากัน มีความเป็นไปได้ที่ทั้งสองฝ่ายจะยิงนิวเคลียร์ทางยุทธวิธีตอบโต้กันหลายสิบลูก ซึ่งฝ่ายรัสเซียดูท่าจะได้เปรียบ เพราะถึงแม้ว่าพวกเขาจะมีระเบิดนิวเคลียร์ทางยุทธศาสตร์ (strategic nuke) ใกล้เคียงกัน แต่มอสโกมีอาวุธประเภทนี้มากกว่าสหรัฐฯ ร่วม 10 เท่า และสถานการณ์อาจบานปลายไปเป็นสงครามนิวเคลียร์

ตัวเลือกทางทหารอีกข้อของไบเดนคือ ยิงนิวเคลียร์เชิงยุทธวิธีใส่ฐานทัพรัสเซียในยูเครน เพื่อบอกปูตินว่า เขาจะใช้หลักการ บานปลายเพื่อลดการบานปลายไม่ได้ เพราะสหรัฐฯ จะขัดขวาง แต่นั่นอาจทำให้เกิดการปะทะกันโดยตรงระหว่างรัสเซียกับนาโต และสุ่มเสี่ยงที่จะกลายเป็นสงครามโลกครั้งที่ 3 ซึ่งจะจบลงด้วยสงครามนิวเคลียร์เช่นกัน

หากไบเดนตัดสินใจเรื่องมาตรการตอบสนองต่อสถานการณ์นิวเคลียร์ในระดับต่างๆ ได้แล้ว คำถามสำคัญคือ เขาจะสื่อสารไปยังปูติน, พันธมิตร, ศัตรู และสังคม อย่างไร? ถ้าไบเดนต้องการป้องปรามการใช้นิวเคลียร์ของรัสเซีย เขาต้องสื่อสารออกมาอย่างเจาะจงชัดเจน ว่าถ้าปูตินทำอย่างนั้น สหรัฐฯ จะตอบโต้แบบนี้ แต่ปัญหาคือไบเดนอาจยอมอ่อนข้อหากการกระทำของปูตินไม่ตรงตามเงื่อนไขที่เขากำหนด

อีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งเป็นวิธีที่ไบเดนชอบใช้ คือการบอกออกไปอย่างกำกวม ซึ่งข้อเสียคือทำให้แม้แต่ชาวยูเครนยังต้องตั้งคำถาม แต่มันอาจทำให้ปูตินต้องคิดเผื่อสถานการณ์เลวร้ายที่สุด..

แสงแห่งความหวัง แม้จะเพียงน้อยนิด

ตอนนี้สงครามในยูเครนยังคงดำเนินต่อไป และโอกาสที่รัสเซียจะใช้อาวุธนิวเคลียร์สูงกว่าที่ผ่านมา แต่มีแสงแห่งความหวังเกิดขึ้นเล็กน้อย ที่การประชุมสุดยอดในอุซเบกิสถาน เมื่อปูตินพบกับมหามิตรอย่าง สี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน ก่อนที่ผู้นำรัสเซียออกมายอมรับว่า จีนแสดงความกังวลและมีคำถามหลายข้อเกี่ยวกับการทำสงครามของเขาในยูเครน

แถลงการณ์หลังการพบปะของผู้นำทั้งสอง ไม่มีการใช้คำ “มิตรภาพไร้ขีดจำกัด” หรือ “หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์อีกแล้ว” ทำให้ ศ.ชื่อ หยินหง ศาสตราจารย์ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของมหาวิทยาลัย เหรินหมิน ในกรุงปักกิ่ง ออกมากล่าวว่า นี่เป็นแถลงการณ์ที่ระมัดระวังและเงียบเชียบที่สุดในรอบหลายปีของความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับรัสเซีย

ในยุคสมัยของ สี จิ้นผิง เขาสานความสัมพันธ์กับรัสเซียอย่างใกล้ชิดที่สุด เพื่อสร้างสมดุลกับชาติตะวันตก และมีวิสัยทัศน์ร่วมกันเรื่องการจัดระเบียบโลกใหม่ เพื่อผลประโยชน์ที่มากขึ้นและไม่ถูกครอบงำโดยชาติตะวันตกอีกต่อไป จีนยังให้ความช่วยเหลือรัสเซียที่ถูกคว่ำบาตรอย่างหนัก ด้วยการซื้อพลังงานและเชื้อเพลิง แต่ไม่สนับสนุนทางทหารโดยตรง เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกคว่ำบาตร

ทว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในอุซเบกิซถาน ทำให้นักวิเคราะห์ชาวจีนหลายคนมองว่า ความเพลี่ยงพล้ำของรัสเซีย กับการยกระดับสงครามของพวกเขา เปิดโอกาสให้จีนเว้นระยะห่างจากรัสเซียบ้าง เช่น ศ.ชื่อ หยินหง กล่าวว่า “จีนไม่มีทางเลือกนอกจากเว้นระยะห่างจากปูตินในระดับหนึ่ง เพราะการยกระดับสงคราม, ความก้าวร้าวและการควบรวมดินแดน และการขู่ทำสงครามนิวเคลียร์ของเขา” “จีนไม่อยากให้เพื่อนผู้ไม่ฟังคำเตือนผู้นี้ไปสู้ ชะตากรรมของเขาในสนามรบไม่ใช่สิ่งที่จีนจะจัดการได้เลย”

การเสียแรงสนับสนุนจากจีน อาจทำให้ปูตินพิจารณาเรื่องการเจรจาเพื่อยุติสงคราม แต่นางเธเรซา ฟอลลอน ผู้อำนวยการศูนย์เพื่อการศึกษารัสเซีย ยุโรป และเอเชีย ในกรุงบรัสเซลส์ ของเบลเยียม เชื่อว่า การเปิดเผยเรื่องความสงสัยของจีน อาจไม่ใช่สัญญาณที่บ่งบอกถึงรอยร้าวของทั้งสองฝ่าย แต่อาจเป็นการเปิดช่องให้จีนมีพื้นที่ทางการทูต โดยเฉพาะในตอนนี้ ที่การสนับสนุนรัสเซียของจีน ทำให้ภาพลักษณ์ของปักกิ่งในยุโรปเสียหายอย่างมาก

“สำหรับผลประโยชน์ในระยะยาวของจีน พวกเขาจะต้องเก็บรัสเซียเอาไว้เป็นพวกต่อไป” นางฟอลลอนกล่าว

เรียบเรียงจาก:https://www.thairath.co.th/news/foreign/2507936

ผู้ชายรัสเซียแห่ออกนอกประเทศ หนีเรียกตัวเป็นทหารสู้ในยูเครน

https://www.youtube.com/watch?v=z783okY5338
ผู้นำรัสเซียประกาศเรียกระดมกำลังพลสำรอง 3 แสนคน สำหรับเดินหน้าต่อสู้ในสมรภูมิยูเครน ท่ามกลางเสียงคัดค้านของคนจำนวนหนึ่งที่ออกมาประท้วง ปรากฏว่าเมื่อวานนี้ (22 ก.ย.) ได้มีภาพคนเดินทางข้ามพรมแดนออกนอกประเทศรัสเซียเป็นจำนวนมาก

รัสเซียออกข้อยกเว้นสำหรับบางอาชีพ ไม่ต้องถูกเกณฑ์ทหาร หลังปูตินสั่งระดมกำลังสำรองเพื่อส่งไปร่วมรบในยูเครน จนทำให้ผู้ชายจำนวนมากพากันหนีออกจากประเทศ..

บีบีซี รายงานว่า กระทรวงกลาโหมรัสเซียประกาศในวันศุกร์ที่ 23 ก.ย. 2565 ให้นายจ้างรวบรวมรายชื่อพนักงานที่เข้าเกณฑ์ถูกเรียกตัวไปเป็นกำลังพลสำรองและส่งมอบให้เจ้าหน้าที่ ตามคำสั่งของประธานาธิบดี วลาดิเมียร์ ปูติน ที่ต้องการระดมกำลังพลสำรองบางส่วนจำนวน 300,000 นาย เพื่อไปร่วมสงครามในยูเครน..

คำสั่งดังกล่าวส่งผลให้เกิดการประท้วงตามเมืองใหญ่หลายแห่งในรัสเซีย รวมถึงที่กรุงมอสโก และนครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก มีผู้ถูกจับกุมราว 1,300 คน ขณะที่ประชาชนจำนวนมาก โดยเฉพาะผู้ชาย ต่างพากันเดินทางออกจากประเทศทั้งทางอากาศและทางบกในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา โดยเมื่อวันพฤหัสบดี มีการเผยแพร่ภาพรถเข้าคิวยาวเหยียดที่ชายแดนจอร์เจียด้วย

กระทรวงกลาโหมระบุในวันพุธว่า มีบางอาชีพจะได้รับการยกเว้นไม่ต้องถูกเรียกตัวไปเป็นกำลังสำรอง ได้แก่ ผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง, อาชีพเกี่ยวกับระบบการเงิน และนักข่าวที่ทำงานให้กับสื่อของรัฐบาล

ขณะเดียวกัน ผู้ประกาศข่าวบางคนในรัสเซีย ซึ่งได้อ่านคำสั่งระดมพลของปูตินพบความเป็นไปได้ว่าจะมีการเรียกตัวมากกว่า 300,000 คน หากจำเป็น โดยมีย่อหน้าหนึ่งในคำสั่งถูกปิดเป็นความลับทั้งหมด ขณะที่นาย ดีมิทรี เปสคอฟ โฆษกรัฐบาลเครมลินพูดถึงเรื่องนี้ในวันศุกร์ว่า ย่อหน้านั้นคือจำนวนชาวรัสเซียทั้งหมดที่อาจถูกเกณฑ์เป็นกำลังสำรอง ซึ่งเขาไม่อาจเปิดเผยได้

สื่ออิสระของรัสเซียอย่าง Novaya Gazeta รายงานอ้างคำพูดของเจ้าหน้าที่รัฐบาลที่ไม่เปิดเผยชื่อ ว่า ย่อหน้าที่ถูกปิดเป็นความลับ มีเนื้อหาอนุญาตให้เรียกตัวประชาชนเป็นกำลังสำรองได้มากถึง 1 ล้านคน ไม่ใช่ 300,000 คนตามที่เปิดเผยออกมา

นักวิจารณ์หลายคนออกมาแสดงความกังขาเรื่องความน่าเชื่อถือในประกาศของรัฐบาลที่ว่า จะจำกัดการเกณฑ์ทหาร เพราะแค่ 2 สัปดาห์ก่อนหน้านี้ นายเปสคอฟเพิ่งบอกกับสื่อว่า ไม่มีการหารือเรื่องการเรียกระดมพลในกลุ่มผู้นำของรัสเซีย ขณะที่เริ่มมีรายงานจากหลายพื้นที่ทั่วประเทศว่า ชายรัสเซียที่ไม่เข้าเกณฑ์เป็นกำลังสำรอง กลับถูกผู้บัญชาการทหารท้องถิ่นเรียกตัวไปเป็นทหาร

cr:https://www.thairath.co.th/news/foreign/2508520
https://www.google.com/..%E0%B8%8A%E0%B8%B..